ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไป
ตำบลเมืองเดช เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ศูนย์กลาง ของอำเภอเดชอุดม เป็นที่ตั้งของส่วนราชการต่างๆ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช เป็นเขตการปกครองส่วนหนึ่งของตำบลเมืองเดช ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อปี พ.ศ. 2540 ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 บ้านโคกเถื่อนช้าง ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอเดชอุดมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 2 กิโลเมตร และมีระยะทางห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี 45 กิโลเมตร
เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช มีเนื้อที่ทั้งหมด 81 ตารางกิโลเมตร หรือ 43,125 ไร่ ดังนี้
- เนื้อที่สำหรับใช้ทำการเกษตรกรรม 34,068.75 ไร่
- เนื้อที่สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย 8,840.62 ไร่
- เนื้อที่สาธารณะประโยชน์และอื่นๆ 215.63 ไร่
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาเรือง กิ่งอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลาชธานี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโพนงาม และ ตำบลกุดประทาย อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลท่าโพธิ์ศรี และ ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะภูมิเทศ
พื้นที่โดยทั่วไปของตำบลเมืองเดช ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 130-140 เมตร มีความลาดเทจากด้านทิศตะวันตกและทิศใต้สู่พื้นที่ตอนกลางของตำบลและลาดเอียงไปทางทิศเหนือ เป็นลักษณะพื้นที่ลูกคลื่นลอนราบ มีอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่ มีอากาศหนาวในฤดูหนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคมและมีฝนตกชุกในฤดูฝน
เขตการปกครอง
เขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช มีหมู่บ้าน ทั้งหมด 29 หมู่บ้าน แยกเป็นหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เต็มส่วน 23 หมู่บ้าน รับผิดชอบ บางส่วน 6 หมู่บ้าน
ประชากร
ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 6,099 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 18,405 คน แยกเป็น ชาย 9,296 คน หญิง 9,109 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 301.77 คน/ตารางกิโลเมตร ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | ครัวเรือน |
---|---|---|---|---|
1 | เมืองเก่า (เต็มพื้นที) | 524 | 506 | 289 |
2 | ตลาด (บางส่วน) | 109 | 91 | 61 |
3 | แขม (เต็มพื้นที) | 368 | 386 | 215 |
4 | สมสะอาด (เต็มพื้นที) | 486 | 470 | 253 |
6 | โคกเถื่อนช้าง (เต็มพื้นที) | 484 | 477 | 318 |
9 | กุดหวาย (เต็มพื้นที) | 388 | 373 | 207 |
10 | หนองสำราญ (เต็มพื้นที) | 466 | 546 | 424 |
11 | เวียงเกษม (บางส่วน) | 182 | 200 | 149 |
13 | หนองหัวลิง (เต็มพื้นที) | 151 | 138 | 68 |
14 | ดอนเสาโฮง (บางส่วน) | 306 | 291 | 226 |
15 | แจ้งสว่าง (เต็มพื้นที) | 344 | 337 | 243 |
16 | แขมเจริญ (เต็มพื้นที) | 525 | 531 | 328 |
17 | เมืองใหม่ (เต็มพื้นที) | 445 | 439 | 364 |
18 | ชัยมงคล (เต็มพื้นที) | 446 | 425 | 317 |
19 | ชัยอุดม (บางส่วน) | 105 | 100 | 164 |
20 | โนนโพธิ์ใต้ (เต็มพื้นที) | 246 | 268 | 198 |
22 | เหล่าเจริญ (เต็มพื้นที) | 361 | 372 | 226 |
23 | ศรีอุดม (เต็มพื้นที) | 54 | 54 | 79 |
25 | โนนสุขสันต์ (เต็มพื้นที) | 360 | 324 | 265 |
26 | เทพเกษม (เต็มพื้นที) | 195 | 193 | 120 |
27 | สมสะอาด (บางส่วน) | 535 | 521 | 309 |
28 | โนนโพธิ์ใต้ (เต็มพื้นที) | 248 | 198 | 115 |
29 | โนนสุขสันต์ (บางส่วน) | 254 | 253 | 182 |
30 | ดอนเสาโอ้ (เต็มพื้นที) | 424 | 407 | 265 |
31 | โคกเจริญ (เต็มพื้นที) | 252 | 225 | 139 |
32 | ร่องรวมวุฒิ (เต็มพื้นที) | 317 | 309 | 174 |
33 | ชัยเจริญ (เต็มพื้นที) | 233 | 210 | 132 |
34 | ห้วยคุ้ม (เต็มพื้นที) | 270 | 261 | 129 |
35 | ทุ่งไทรงาม (เต็มพื้นที) | 218 | 210 | 140 |
ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอเดชอุดม (ข้อมูล ณ เดือน เมษายน พ.ศ. 2555)
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกันยายน และมักจะปรากฏเสมอว่าฝนจะทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน แต่ระยะเวลาการทิ้งช่วงมักจะไม่เหมือนกันในแต่ละปีและในช่วงปลายฤดูฝนมักจะมีพายุดีเปรสชั่น ฝนตกชุกบางปีอาจเกินภาวะน้ำท่วม
ฤดูหนาว ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดชได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก่อนภูมิภาคอื่นโดยอุณหภูมิจะเริ่มลดต่ำลง ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และจะหนาวจัดในช่วงมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในระดับ 19.4 องศาเซนเซียส
ฤดูร้อน อากาศจะเริ่มร้อนในเดือน มีนาคม ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม ซึ่งอาจมีฝนเริ่มตกอยู่บ้างในปลายเดือนเมษายน และพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในระดับ 27.5 องศาเซนเซียส
การคมนาคม
พื้นที่รับผิดชอบของตำบลเมืองเดช ถนนภายในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต 75 สาย ถนนลาดยาง 3 สาย ถนนลูกรัง 60 สาย และถนนดิน 39 สาย ตามลำดับ
การขนส่งและการคมนาคม องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีการคมนาคม ติดต่อกับอำเภอต่างๆ ดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ถนนลาดยาง ติดต่อระหว่างอำเภอวารินชำราบ
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2128 ติดต่อกับอำเภอบุณฑริก่
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2171 และ 2214 ติดต่อกับอำเภอน้ำยืน
- ถนน รพช.ลูกรังติดต่อกับอำเภอนาจะหลวย
- เนื้อที่สาธารณะประโยชน์และอื่นๆ 215.63 ไร่
- เนื้อที่สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย 8,840.62 ไร่
- เนื้อที่สาธารณะประโยชน์และอื่นๆ 215.63 ไร่
การคมนาคมในพื้นที่รับผิดชอบของตำบลเมืองเดช ถือว่าสะดวกสบาย ส่วนใหญ่มีถนนสายหลักที่เป็นถนนระดับมาตรฐาน มีปริมาณรถยนต์โดยสาร รถประจำทาง เดินทางระหว่างจังหวัดอยู่ตลอดเวลา มีสถานีขนส่งระดับอำเภอขนาดใหญ่ สามารถใช้บริการได้อย่างครบวงจร เดินทางไปยังภาคตะวัน ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ไฟฟ้า
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน แต่ยังไม่ครบทุกครัวเรือนเพราะมีการขยายตัวของชุมชนเพิ่มขึ้น ไฟฟ้าส่องสว่างตามถนนสาธารณะบางหมู่บ้านชำรุด ส่วนไฟฟ้าเพื่อการเกษตรยังมีไม่เพียงพอ
ประปา/บ่อบาดาลสาธารณะ
ประปาหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช มีประปาใช้เกือบทุกหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นประปาบาดาล ยกเว้นหมู่ที่ 2,17,19,23,26, และ 33 ที่ยังไม่มีระบบประปาใช้
เครือข่ายโทรศัพท์
ตำบลเมืองเดช มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 20 ตู้ กระจายไปตามหมู่บ้านต่างๆ เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะส่วนใหญ่ใช้การไม่ได้ เพราะถูกลักขโมยสาย
การประกอบอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีกิจกรรมการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ทำนา 1,966 ครัวเรือน รองลงมา คือ รับจ้าง 1,350 ครัวเรือน เลี้ยงสัตว์ 510 ครัวเรือน ทำสวนยาง 128 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถจำแนกเป็นรายหมู่บ้านได้ คือ ทำสวนผัก 100 ครัวเรือน และทำสวนผลไม้ 50 ครัวเรือน
การเกษตรในตำบล
- การเพาะปลูก จากการจัดเวทีชุมชน พบว่า จำนวนครัวเรือนที่ทำการเกษตร และพื้นที่ปลูกพืชมีการเปลี่ยนแปลงจากข้อมูลปี 2548 พื้นที่การเกษตรของตำบลเมืองเดช เป็นพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุด คือ จำนวน 18,393 ไร่ รองลงมา คือ มันสำปะหลัง มีพื้นที่ปลูก จำนวน 14,304 ไร่ และ ยางพารามีพื้นที่ปลูก จำนวน 8,175 ไร่
- การเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด รองลงมา คือ กระบือ สุกร ไก่และ เป็ด ตามลำดับ
รายได้
ชาวตำบลเมืองเดช มีรายได้เฉลี่ย ต่อคน ต่อปี ไม่น้อยกว่า 49,896.55 บาท (ข้อมูลจาก จปฐ. ปี พ.ศ. 2554)
หน่วยธุรกิจในเขตรับผิดชอบ
- โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 4 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้า จำนวน 98 แห่ง
- ร้านซ่อมรถ จำนวน 31 แห่ง
- ร้านขายอาหาร จำนวน 14 แห่ง
องค์กร/กลุ่มอาชีพ
จากการจัดเวทีชุมชนและการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มองค์กรในตำบล พบว่า มีกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลเมืองเดช กลุ่มผลิตไวน์ กลุ่มทอผ้า กลุ่มเห็ดนางฟ้า สหกรณ์ร้านค้าชุมชน กลุ่มจักรสาน และกลุ่มทำนาข้าวก่ำ
กลุ่มที่น่าสนใจและควรให้การสนับสนุนทั้งด้านความรู้และเงินทุน ได้แก่ กลุ่มทำนาข้าวก่ำ มีสมาชิก 355 ราย กิจกรรมที่ทำ คือ ทำนาข้าวก่ำ เพื่อใช้ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ส่งจำหน่าย ในท้องถิ่น และ ในอำเภอ เพื่อเป็นการสนับสนุน และยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว ซึ่งเริ่มจะหารับประทานได้ยากในปัจจุบัน
- กลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลเมืองเดช หมู่ที่ 25 สมาชิกจำนวน 50 คน
- กลุ่มผลิตไวน์ หมู่ที่ 25 สมาชิกจำนวน 20 คน
- กลุ่มทอผ้า หมู่ที่ 4 สมาชิก จำนวน 18 คน, หมู่ที่ 25 สมาชิก จำนวน 15 คน
- กลุ่มเห็ดนางฟ้า หมู่ที่ 9 สมาชิกจำนวน 30 คน
- สหกรณ์ร้านค้าชุมชน หมู่ที่ 25 สมาชิกจำนวน 20 คน
- กลุ่มจักรสาน หมู่ที่ 4 สมาชิกจำนวน 30 คน
- กลุ่มทำนาข้าวก่ำ หมู่ที่ 35 สมาชิกจำนวน 355 คน
- กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ หมู่ที่ 1 สมาชิกจำนวน 30 คน
- กลุ่มแม่บ้านโนนโพธิ์ หมู่ที่ 20 สมาชิกจำนวน 35 คน
ผังโครงสร้างหน่วยงาน
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดทำข้อมูลผังโครงสร้างหน่วยงาน เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ แก่ผู้สนใจ จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช
- 1. มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
- 2. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 67 ดังต่อไปนี้
- 1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
- 2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
- 3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
- 4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- 5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- 6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- 7) คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- 8) บำรุงรักษาศิลปจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- 9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจําเป็นและสมควร
- 3. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 68 ดังต่อไปนี้
- 1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
- 2) ให้มีการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- 3) ให้มีการบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
- 4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
- 5) ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
- 6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
- 7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
- 8) การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
- 9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
- 10) ให้มีตลาดท่าเทียบเรือและท่าข้าม
- 11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
- 12) การท่องเที่ยว
- 13) การผังเมือง
- 4. การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลต้องแจ้งให้ อบต. ทราบล่วงหน้าตามสมควร หาก อบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้นำความเห็นของ อบต. ไปประกอบการพิจารณา ดำเนินกิจการนั้นด้วย (มาตรา 69)
- 5. การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา อบต. การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กระทรวงมหาดไทยกำหนด (มาตรา 69/1)
- 6. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา 70)
- 7. ออกข้อบัญญัติ อบต. เพื่อใช้บังคับในตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ของ อบต. ในการจะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้แต่ให้กำหนดโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 71)
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ดังนี้
ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์
ตำบลเมืองเดช เดิมชื่อว่า “เมืองเดชอุดม” เมื่อถึงพุทธศักราช 2388 หลวงธิเบศ หลวงมหาดไทย และหลวงอภัย กรมการเมืองศรีสะเกษ พากันอพยพครอบครัวแยกจากเมืองศรีสะเกษ มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านลำโดมใหญ่ (ปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 1 บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเดช ) ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างเมือนครจำปาศักดิ์ เมืองอุบล เมืองขุขันธ์ และเมืองศรสะเกษ แนวเขตต่อกัน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลำโดมใหญ่ขึ้นเป็น “เมืองเดชอุดม” ตั้งหลวงธิเบศ เป็น พระศรีสุระ เป็นเจ้าเมืองขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงเทพมหานคร
ต่อมาในพุทธศักราช 2455 ให้ยุบเมืองเดชอุดมเรียกชื่อว่า “อำเภอเดชอุดม” ขึ้นตรงต่อจังหวัดศรีสะเกษ และโอนขึ้นมาตรงต่อจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปีพุทธศักราช 2477
ในครั้งแรกนั้น อำเภอเดชอุดม ตั้งที่ว่าอำเภอเดชอุดม อยู่หมู่ที่ 1 บ้านเมืองเก่า เป็นเมือง และอำเภอ มาหลายปี ปรากฏว่าลำน้ำโดมไหลหลากมาจากทางเหนือ ทำให้เกิดฝนตกน้ำท่วม นายอำเภอเดชอุดม จึงได้ปรึกษาหารือกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ทั้งหมด ให้ความเห็นว่า บ้านโนนขามป้อม เป็นที่สูง ควรจะดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอเดชอุดม จึงได้ทำพิธีย้ายที่ว่าการอำเภอ มาตั้งที่ บ้านโนนขามป้อม เมื่อวันที่ 10 มกราคม พุทธศักราช 2464 จนถึงปัจจุบัน (โนนขามป้อม ปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแสง)
ตำบลเมืองเดช ตั้งอยู่เป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ตั้งของส่วนราชการต่างๆ ของอำเภอเดชอุดม องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช เป็นเขตการปกครองส่วนหนึ่ง ของตำบลเมืองเดช ได้รับการยกฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อปี พ.ศ. 2540 ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 บ้านโคกเถื่อนช้าง มีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอเดชอุดม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 2 กิโลเมตร และมีระยะทางห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี 45 กิโลเมตร
{gallery}history{/gallery}
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติครม.ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช ดังนี้
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง เพื่อแสดงถานการณ์ในอุดมคติ
“พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาเศรษฐกิจ สร้างงานสร้างรายได้ ชุมชนสะอาดปลอดภัย ส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพฝีมือแรงงานและภูมิปัญาท้องถิ่น บนรากฐานที่ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ สนับสนุนชุมชน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- จัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานครอบคลุมทุกพื้นที่
- ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรอย่างพอเพียง
- ให้มีการบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ
- บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
- ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ศาสนา ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอันดีของตำบล
- ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
- คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมวิถึชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาตำบล
- พัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ (Strategic)
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
- ยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
- ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมศาสนาสืบสานศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์การจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน
- ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี