Print this page

สภาพทั่วไป

      ตำบลเมืองเดช เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ศูนย์กลาง ของอำเภอเดชอุดม เป็นที่ตั้งของส่วนราชการต่างๆ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช เป็นเขตการปกครองส่วนหนึ่งของตำบลเมืองเดช ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อปี พ.ศ. 2540 ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 บ้านโคกเถื่อนช้าง ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอเดชอุดมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 2 กิโลเมตร และมีระยะทางห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี 45 กิโลเมตร

เนื้อที่

      องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช มีเนื้อที่ทั้งหมด 81 ตารางกิโลเมตร หรือ 43,125 ไร่ ดังนี้

  1. เนื้อที่สำหรับใช้ทำการเกษตรกรรม 34,068.75 ไร่
  2. เนื้อที่สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย 8,840.62 ไร่
  3. เนื้อที่สาธารณะประโยชน์และอื่นๆ 215.63 ไร่

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาเรือง กิ่งอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลาชธานี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโพนงาม และ ตำบลกุดประทาย อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลท่าโพธิ์ศรี และ ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

ลักษณะภูมิเทศ

      พื้นที่โดยทั่วไปของตำบลเมืองเดช ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 130-140 เมตร มีความลาดเทจากด้านทิศตะวันตกและทิศใต้สู่พื้นที่ตอนกลางของตำบลและลาดเอียงไปทางทิศเหนือ เป็นลักษณะพื้นที่ลูกคลื่นลอนราบ มีอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่ มีอากาศหนาวในฤดูหนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคมและมีฝนตกชุกในฤดูฝน

เขตการปกครอง

      เขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช มีหมู่บ้าน ทั้งหมด 29 หมู่บ้าน แยกเป็นหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เต็มส่วน 23 หมู่บ้าน รับผิดชอบ บางส่วน 6 หมู่บ้าน

ประชากร

      ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 6,099 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 18,405 คน แยกเป็น ชาย 9,296 คน หญิง 9,109 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 301.77 คน/ตารางกิโลเมตร ดังนี้

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชาย หญิง ครัวเรือน
1 เมืองเก่า (เต็มพื้นที) 524 506 289
2 ตลาด (บางส่วน) 109 91 61
3 แขม (เต็มพื้นที) 368 386 215
4 สมสะอาด (เต็มพื้นที) 486 470 253
6 โคกเถื่อนช้าง (เต็มพื้นที) 484 477 318
9 กุดหวาย (เต็มพื้นที) 388 373 207
10 หนองสำราญ (เต็มพื้นที) 466 546 424
11 เวียงเกษม (บางส่วน) 182 200 149
13 หนองหัวลิง (เต็มพื้นที) 151 138 68
14 ดอนเสาโฮง (บางส่วน) 306 291 226
15 แจ้งสว่าง (เต็มพื้นที) 344 337 243
16 แขมเจริญ (เต็มพื้นที) 525 531 328
17 เมืองใหม่ (เต็มพื้นที) 445 439 364
18 ชัยมงคล (เต็มพื้นที) 446 425 317
19 ชัยอุดม (บางส่วน) 105 100 164
20 โนนโพธิ์ใต้ (เต็มพื้นที) 246 268 198
22 เหล่าเจริญ (เต็มพื้นที) 361 372 226
23 ศรีอุดม (เต็มพื้นที) 54 54 79
25 โนนสุขสันต์ (เต็มพื้นที) 360 324 265
26 เทพเกษม (เต็มพื้นที) 195 193 120
27 สมสะอาด (บางส่วน) 535 521 309
28 โนนโพธิ์ใต้ (เต็มพื้นที) 248 198 115
29 โนนสุขสันต์ (บางส่วน) 254 253 182
30 ดอนเสาโอ้ (เต็มพื้นที) 424 407 265
31 โคกเจริญ (เต็มพื้นที) 252 225 139
32 ร่องรวมวุฒิ (เต็มพื้นที) 317 309 174
33 ชัยเจริญ (เต็มพื้นที) 233 210 132
34 ห้วยคุ้ม (เต็มพื้นที) 270 261 129
35 ทุ่งไทรงาม (เต็มพื้นที) 218 210 140

      ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอเดชอุดม (ข้อมูล ณ เดือน เมษายน พ.ศ. 2555)

ลักษณะภูมิอากาศ

      ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกันยายน และมักจะปรากฏเสมอว่าฝนจะทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน แต่ระยะเวลาการทิ้งช่วงมักจะไม่เหมือนกันในแต่ละปีและในช่วงปลายฤดูฝนมักจะมีพายุดีเปรสชั่น ฝนตกชุกบางปีอาจเกินภาวะน้ำท่วม

      ฤดูหนาว ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดชได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก่อนภูมิภาคอื่นโดยอุณหภูมิจะเริ่มลดต่ำลง ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และจะหนาวจัดในช่วงมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในระดับ 19.4 องศาเซนเซียส

      ฤดูร้อน อากาศจะเริ่มร้อนในเดือน มีนาคม ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม ซึ่งอาจมีฝนเริ่มตกอยู่บ้างในปลายเดือนเมษายน และพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในระดับ 27.5 องศาเซนเซียส

การคมนาคม

      พื้นที่รับผิดชอบของตำบลเมืองเดช ถนนภายในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต 75 สาย ถนนลาดยาง 3 สาย ถนนลูกรัง 60 สาย และถนนดิน 39 สาย ตามลำดับ

      การขนส่งและการคมนาคม องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีการคมนาคม ติดต่อกับอำเภอต่างๆ ดังนี้

  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ถนนลาดยาง ติดต่อระหว่างอำเภอวารินชำราบ
  2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2128 ติดต่อกับอำเภอบุณฑริก่
  3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2171 และ 2214 ติดต่อกับอำเภอน้ำยืน
  4. ถนน รพช.ลูกรังติดต่อกับอำเภอนาจะหลวย
  5. เนื้อที่สาธารณะประโยชน์และอื่นๆ 215.63 ไร่
  6. เนื้อที่สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย 8,840.62 ไร่
  7. เนื้อที่สาธารณะประโยชน์และอื่นๆ 215.63 ไร่

      การคมนาคมในพื้นที่รับผิดชอบของตำบลเมืองเดช ถือว่าสะดวกสบาย ส่วนใหญ่มีถนนสายหลักที่เป็นถนนระดับมาตรฐาน มีปริมาณรถยนต์โดยสาร รถประจำทาง เดินทางระหว่างจังหวัดอยู่ตลอดเวลา มีสถานีขนส่งระดับอำเภอขนาดใหญ่ สามารถใช้บริการได้อย่างครบวงจร เดินทางไปยังภาคตะวัน ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ไฟฟ้า

      ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน แต่ยังไม่ครบทุกครัวเรือนเพราะมีการขยายตัวของชุมชนเพิ่มขึ้น ไฟฟ้าส่องสว่างตามถนนสาธารณะบางหมู่บ้านชำรุด ส่วนไฟฟ้าเพื่อการเกษตรยังมีไม่เพียงพอ

ประปา/บ่อบาดาลสาธารณะ

      ประปาหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเดช มีประปาใช้เกือบทุกหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นประปาบาดาล ยกเว้นหมู่ที่ 2,17,19,23,26, และ 33 ที่ยังไม่มีระบบประปาใช้

เครือข่ายโทรศัพท์

      ตำบลเมืองเดช มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 20 ตู้ กระจายไปตามหมู่บ้านต่างๆ เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะส่วนใหญ่ใช้การไม่ได้ เพราะถูกลักขโมยสาย

การประกอบอาชีพ

      ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีกิจกรรมการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ทำนา 1,966 ครัวเรือน รองลงมา คือ รับจ้าง 1,350 ครัวเรือน เลี้ยงสัตว์ 510 ครัวเรือน ทำสวนยาง 128 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถจำแนกเป็นรายหมู่บ้านได้ คือ ทำสวนผัก 100 ครัวเรือน และทำสวนผลไม้ 50 ครัวเรือน

การเกษตรในตำบล

  1. การเพาะปลูก จากการจัดเวทีชุมชน พบว่า จำนวนครัวเรือนที่ทำการเกษตร และพื้นที่ปลูกพืชมีการเปลี่ยนแปลงจากข้อมูลปี 2548 พื้นที่การเกษตรของตำบลเมืองเดช เป็นพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุด คือ จำนวน 18,393 ไร่ รองลงมา คือ มันสำปะหลัง มีพื้นที่ปลูก จำนวน 14,304 ไร่ และ ยางพารามีพื้นที่ปลูก จำนวน 8,175 ไร่
  2. การเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด รองลงมา คือ กระบือ สุกร ไก่และ เป็ด ตามลำดับ

รายได้

      ชาวตำบลเมืองเดช มีรายได้เฉลี่ย ต่อคน ต่อปี ไม่น้อยกว่า 49,896.55 บาท (ข้อมูลจาก จปฐ. ปี พ.ศ. 2554)

หน่วยธุรกิจในเขตรับผิดชอบ

  1. โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 4 แห่ง
  2. ปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง
  3. ร้านค้า จำนวน 98 แห่ง
  4. ร้านซ่อมรถ จำนวน 31 แห่ง
  5. ร้านขายอาหาร จำนวน 14 แห่ง

องค์กร/กลุ่มอาชีพ

      จากการจัดเวทีชุมชนและการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มองค์กรในตำบล พบว่า มีกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลเมืองเดช กลุ่มผลิตไวน์ กลุ่มทอผ้า กลุ่มเห็ดนางฟ้า สหกรณ์ร้านค้าชุมชน กลุ่มจักรสาน และกลุ่มทำนาข้าวก่ำ

      กลุ่มที่น่าสนใจและควรให้การสนับสนุนทั้งด้านความรู้และเงินทุน ได้แก่ กลุ่มทำนาข้าวก่ำ มีสมาชิก 355 ราย กิจกรรมที่ทำ คือ ทำนาข้าวก่ำ เพื่อใช้ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ส่งจำหน่าย ในท้องถิ่น และ ในอำเภอ เพื่อเป็นการสนับสนุน และยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว ซึ่งเริ่มจะหารับประทานได้ยากในปัจจุบัน

  1. กลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลเมืองเดช หมู่ที่ 25 สมาชิกจำนวน 50 คน
  2. กลุ่มผลิตไวน์ หมู่ที่ 25 สมาชิกจำนวน 20 คน
  3. กลุ่มทอผ้า หมู่ที่ 4 สมาชิก จำนวน 18 คน, หมู่ที่ 25 สมาชิก จำนวน 15 คน
  4. กลุ่มเห็ดนางฟ้า หมู่ที่ 9 สมาชิกจำนวน 30 คน
  5. สหกรณ์ร้านค้าชุมชน หมู่ที่ 25 สมาชิกจำนวน 20 คน
  6. กลุ่มจักรสาน หมู่ที่ 4 สมาชิกจำนวน 30 คน
  7. กลุ่มทำนาข้าวก่ำ หมู่ที่ 35 สมาชิกจำนวน 355 คน
  8. กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ หมู่ที่ 1 สมาชิกจำนวน 30 คน
  9. กลุ่มแม่บ้านโนนโพธิ์ หมู่ที่ 20 สมาชิกจำนวน 35 คน